ผลกระทบของพารามิเตอร์ในการเชื่อมใต้ฟลักซ์ที่ส่งผลต่อรูปร่างแนวเชื่อมและการหลอมลึก

ผลกระทบของพารามิเตอร์ในการเชื่อมใต้ฟลักซ์ที่ส่งผลต่อรูปร่างแนวเชื่อมและการหลอมลึก

1. กระแสไฟเชื่อม (Welding Current)

กระแสไฟเชื่อมจะส่งผลต่อ อัตราการเติมเนื้อโลหะ (Deposition rate) การหลอมลึก (Penetration) ถ้าหากกระแสไฟเชื่อมสูงมากเกินไป จะส่งผลให้การหลอมลึกมากเกินไปหรือ ชิ้นงานอาจเกิดการทะลุได้

และ ส่งผลให้สิ้นเปลืองลวด เชื่อม (Electrode) และความนูนของแนวเชื่อม (Reinforcement) มากเกินความ จำเป็น อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดการหดตัว (Shrinkage) แนวเชื่อมอย่างมากและอาจส่งผลให้เกิดการเสียรูป

เนื่องจากความร้อน (Distortion) ในทางกลับกัน หากกระแสไฟเชื่อมต่ำเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดการหลอม ละลายไม่สมบูรณ์ (Incomplete Fusion) และอาจทำให้เกิดการอาร์กที่ไม่เสถียร (Unstable Arc)

2. แรงดันไฟฟ้าหรือค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเชื่อม (Welding Voltage)

แรงดันไฟฟ้าขึ้นอยู่กับระยะอาร ์กโดยระยะอาร์กหมายถึงระยะห่างของปลายลวดเชื่อมถึงบ่อหลอม ละลาย (Weld pool) หากแรงดันเพิ่มมากขึ้นหมายความว่าระยะอาร์กเพิ่มมากขึ้น แรงดันไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่

จะส่งผลต่อ รูปร่างหน้าตัด (Cross section) และรูปร่างภายนอก การเพิ่มของแรงดันไฟฟ้าในขณะที่กระแส ไฟคงที่ส่งผลท าให แนวเชื่อมมีขนาดกว้างและเว้า (Concave bead) และเพิ่มการใช้ฟลักซ์อีกด้วย อีกทั้ง

ยังเพิ่มโอกาสให้เกิดรูพรุน (Porosity) โดยสรุปแล้วแรงดันไฟฟ้าที่มากเกินไปจะส่งผลดังนี้

– แนวมีขนาดกว้างและเว้าอาจเกิดการแตกร้าวได้
– กาจัดสแลกออกได้ยาก
– อาจเกิดรูพรุน
– อาจเกิดการกัดแหว่ง (Undercut) ในกรณีเชื่อมแบบ Fillet

3. ความเร็วในการเชื่อม (Travel Speed)

หากความเร็วในการเชื่อมเพิ่มขึ้น พลังงานหรือความร้อนเข้าสู่ชิ้นงาน (Heat input) จะลดลง และอัตราการสิ้นเปลืองลวดเชื่อมจะลดลง ส่งผลให้ความนูนของแนวเชื่อมลดลงอีกด้วย ดังนั้นรูปร่าง

ของแนวเชื่อมจึงมีขนาดค่อนข้างเล็ก ผลของความเร็วในการเชื่อมส่งผลต่อการหลอมลึกมากกว่า พารามิเตอร์ตัวอื่นๆ และความเร็วที่มากเกินไปอาจส่งผล เกิดการกัดแหว่ง การเบี่ยงเบนอาร์ก (Arc blow)

รูพรุน และรูปร่างแนวเชื่อมไม่สม่ำเสมอ (Uneven bead shape)

4. ขนาดของลวดเชื่อม (Electrode Size)

ขนาดของลวดเชื่อมส่งอิทธิพลต่ออัตราการเติมเนื้อโลหะ โดยลวดเชื่อมที่ขนาดค่อนข้างเล็ก จะมีความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า (Current density) ที่สูง

และอัตราการเติมเนื้อโลหะที่สูงมากกว่า ลวดเชื่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า แต่อย่างไรก็ตามขนาดที่ใหญ่กว่าจะมีช่วงกระแสไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้มากกว่า

error: Content is protected !!