โครงสร้างของเหล็กกล้าคาร์บอน

โครงสร้างของเหล็กกล้าคาร์บอน

โดยทั่วไป ธาตุเหล็ก (Iron) มีความแข็งแรงต่ำเกินกว่าที่จะนำไปใช้งานทางวิศวกรรมได้ จึงมีการเติมธาตุผสมเข้าไปในเนื้อเหล็กเพื่อให้มีความแข็งแรงสูงขึ้น โดยธาตุคาร์บอนเป็นหนึ่งในธาตุที่เติมลงไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เรียกโลหะชนิดนี้ว่าเรียกว่า เหล็กกล้า (Steel) โดยธาตุคาร์บอนเป็นธาตุที่อยู่ในเหล็กกลาได้สองลักษณะคือ ในสภาพสารละลายของแข็ง (Solid solution) และหากมีธาตุคาร์บอนมากเกินกว่าที่ละลายได้จะเกิดเป็นสารประกอบอินเตอร์เมทัลลิค (Cementite, ซีเมนไทต์) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้เหล็กกล้าคาร์บอนมีความแข็งแรงและความแข็งเพิ่มขึ้นจากโครงสร้างซีเมนไทต์ ยังมีอีกปัจจัยที่เปลี่ยนโครงสร้างของเหล็กคือ การอบชุบเหล็กกล้า หรือจะกล่าวได้ว่าอัตราการเย็นตัวของเหล็กมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเหล็ก และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเหล็กได้ โครงสร้างที่มาสามารถพบได้มีหลักๆ มี 5 โครงสร้าง ได้แก่

Ferrite (เฟอร์ไรต์)

  • เป็นโครงสร้างที่เกิดจากคาร์บอนละลายในเนื้อเหล็ก จนเกิดเป็นสารละลายของแข็ง แต่โครงสร้างชนิดนี้คาร์บอนละลายได้น้อยมาก เพียง 0.008% เท่านั้น
  • ความแข็งแรงและความแข็งน้อย เนื่องจากคาร์บอนสามารถละลายได้น้อย
  • มีความเหนียวสูง นิ่ม สามารถขึ้นรูปได้ง่าย
  • มีคุณสมบัติแม่เหล็กที่อุณหภูมิต่ำกว่า 768 OC

Cementite (ซีเมนไทต์)

  • เกิดจากการที่คาร์บอนจับตัวกับเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบ Fe3C หรือซีเมนไทต์ ซึ่งมีคาร์บอน 6.67%
  • มีความแข็งสูง
  • แต่มีความเปราะมาก
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเหล็กได้

Micrograph of pearlite, a lamellar mixture of ferrite and cementite obtained by A Kapito.

Pearlite (เพิร์ลไลต์)

  • เกิดจากการแพร่ของคาร์บอนเป็นแถบสลับกันระหว่าง เฟอร์ไรต์กับซีเมนไทต์
  • ความแข็งแรงสูง เนื่องจากมาจากโครงสร้างชนิดนี้เป็นการสลับกันระหว่างโครงสร้างที่อ่อนของเฟอร์ไรต์กับโครงสร้างที่แข็งของซีเมนไทต์
  • สามารถยืดตัวได้ดีมากภายใต้แรงดึง
  • ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับความหยาบ/ละเอียดของริ้วเพิร์ลไรต์
  • อัตราการเย็นตัวของโลหะมีผลต่อความหยาบ/ละเอียดของริ้วเพิร์ลไรต์

https://www.researchgate.net/figure/Microstructure-of-the-pearlite-steel-SEM-picture_fig2_241123983Austenite

Austenite (ออสเทนไนต์) หรือ Gamma-phase iron ( γ-Fe )

  • เป็นโครงสร้างที่คาร์บอนสามารถละลายในเหล็กได้มาก พบที่อุณหภูมิสูง
  • นิ่ม ความแข็งแรงต่ำ สามารถรีดให้เข้ารูปได้ง่าย
  • แม่เหล็กดูดไม่ติด
  • มีโครสร้างผลึกเป็น FCC

Micrograph of Austenite’s microstructure obtained by Sérgio Souto Maior Tavares

Martensite (มาร์เทนไซต์)

  • เกิดจากการที่โครงสร้างออสเทนไนต์ถูกทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว (การชุบแข็ง, Quenching)
  • ความแข็งสูง แต่เปราะ ความเหนียวต่ำ
  • สามารถเพิ่มความแกร่งได้โดยการนำไปอบคืนตัว (Tempering)

Micrograph of Martensite’s microstructure obtained by J. R. C. Guimarães.

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเหล็กกล้าคาร์บอน

โดยเหล็กกล้า ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 900°C จะอยู่ในโครงสร้างออสเทนไนต์ และเมื่อถูกทำให้เย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ซึ่งปริมาณของธาตุคาร์บอนมีผลดังนี้
มีธาตุคาร์บอนต่ำกว่า 0.77% ในระหว่างที่เย็นตัวจะทำให้เกิดโครงสร้างเฟอร์ไรต์ก่อน จากนั้นเกิดโครงสร้างเพอร์ไรต์
มีธาตุคาร์บอน 0.77% ในระหว่างที่เย็นตัวจนถึงอุณหภูมิ 727°C จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นเพิร์ลไรต์ทั้งหมด
มีธาตุคาร์บอนมากกว่า 0.77% ในระหว่างที่เย็นตัวจะทำให้เกิดร่างแหของโครงสร้างมาร์เทนไซต์ จากนั้นเกิดโครงสร้างเพอร์ไรต์ตามมา
และหากมีธาตุคาร์บอนมากกว่า 2% ขึ้นจะเรียกโลหะชนิดนี้ว่าเหล็กหล่อ ซึ่งรับแรงอัดได้ดีแต่มีความเปราะสูง
หากโลหะถูกทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว จะมีโอกาสที่จะเกิดโครงสร้างมาเทนไซต์

ผลของธาตุผสมอื่น ต่อโครงสร้างของเหล็กกล้าคาร์บอน

ธาตุ ข้อดี ข้อเสีย
ซัลเฟอร์         Sulphur (S) ลดความเปราะ หากมีปริมาณมากทำให้เกิดการแตกร้าวขณะร้อนได้ Hot cracking
เพิ่มความสามารถในการMachining *
แมงกานีส Manganese (Mn) ช่วยกำจัดกัมมะถันในเนื้อเหล็กโดยรวมตัวกับกำมะถันเกิดเป็นสารประกอบแมงกานีสซัลไฟด์ หากมีปริมาณมากทำให้เกิด แมงกานีสคาร์ไบด์ ความเหนียวจะลดลง
โครเมียม Chromium (Cr) ช่วยทำให้เกิดโครงสร้าง เฟอร์ไรต์ ความทนทานต่อแรงกระแทกลดลง
ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูงขึ้น และเพิ่มความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง
หากมีปริมาณเกิน 10% จะเป็นเหล็กกล้าไร้สนิม
นิกเกิล        Nickel (Ni) เพิ่มความเหนียว คุณสมบัติการนำไฟฟ้าและความร้อนลดลง
เพิ่มความสามารถในการทนแรงกระแทกที่อุณหภูมิต่ำ
ทำให้เกิดโครงสร้างออนเทนไนต์ เช่นในเหล็กกล้าไร้สนิม
โมลิบดีนัม     Molybdenum (Mo) เพิ่มความสามารถในการชุบแข็ง
เมื่อรวมกับโครเมียม เพิ่มความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง
ช่วยทำให้เกิดโครงสร้าง เฟอร์ไรต์
ซิลิกอน      Silicon (Si) เพิ่มความแข็งแรง หากมีปริมาณมากทำให้ความเหนียวลดลง
ลดความหนืดของน้ำโลหะ
ช่วยทำให้เกิดโครงสร้าง เฟอร์ไรต์

เช่น เหล็กเกรด T91


มีธาตุผสมหลักคือ โครเมียมและ โมลิบดีนัม ส่งผลให้เกิดโครงสร้างเฟอร์ไรต์ แต่ในการใช้งาน หลังจากทำการเชื่อมจะต้องนำไปอบคลายตัว (Annealing) และทำการชุบแข็งเพื่อให้ได้โครงสร้างมาร์เทนไซต์

 

error: Content is protected !!